ผลิตภัณฑ์นม ใช้ในกระบวนการ HTST หรือ UHT นม, นมเปรี้ยว(ใช้ 0.2-0.8%), เนยนิ่ม (soft cheese) เช่น ซาวร์ครีม, ครีสชีส, คอตเตจชีส, ชีสสเปรด(เนยทาขนมปัง)), เค้กแช่แข็ง, พุดดิ้ง, เต้าหู้นมสด, คัสตาร์ด, มูส, ไอศครีม, เนยไขมันต่ำ, มาการีน (ใช้เจลาติน 0.5-3.5%)
ขนมหวาน เยลลี่, เม็ดเยลลี่,มาชแมลโล, อาหารเคลือบน้ำตาล, เคลือบผิวขนม, เค้กแช่แข็ง, เคลือบทอฟฟี่(ช็อกโกแลตหรือหมากฝรั่ง), กัมมีแบร์, หมากฝรั่ง, นูกัต, ลิโคริส, ขนมเคี้ยวหนึบ,แยม , ชีสเค้ก, ซีเรียลบาร์
ผลิตภัณฑ์เนื้อ เนื้อบรรจุกระป๋อง, ไส้กรอก, เคลือบผิวแฮม, อาหารทะเลกระป๋อง
อาหารอื่นๆ ซุป, ซอส, มายองเนสไขมันต่ำ, น้ำสลัด, น้ำผลไม้
ปริมาณเจลาตินที่ใช้ในอาหารบางชนิดน้อยมาก ซึ่งนักวิชาการอิสลามก็มีความเห็นเป็น 2 ทัศนะ คือมีทั้งที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใช้ ทัศนะใดที่มีน้ำหนัก คงต้องอาศัยผู้รู้ค้นคว้าและวิเคราะห์ แต่ยังไงถ้าเห็นว่าเป็นอาหารที่อาจมีส่วนผสมของเจลาตินก็ต้องตรวจดูตราหะล้าลและอ่านส่วนผสมให้ละเอียดก่อนจะซื้อ เพื่อความมั่นใจในระดับหนึ่ง
เจลาตินใช้ในอาหารได้หลายอย่าง แต่ไม่ใช่ว่าอาหารเหล่านี้เราจะทานไม่ได้เลย เพราะยังมีสารตัวอื่นที่ทำจากพืชนำมาใช้แทนเจลาตินได้ เช่น คาราจีแนน(จากสาหร่าย), เพคติน(พืช), แป้งดัดแปรง ฯลฯ
เลือกเจลาตินคุณภาพ เลือกเจลาตินฮาลาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น