หลายๆ คนคงมีโอกาสได้ลองรับประทานเจลาตินปลา แล้วแต่ยังไม่เคยรู้กระบวนการผลิต ครั้งนี้จึงหยิบเรื่องนี้ขึ้นมากล่าวถึง โดยทั่วไปขั้นตอนหลัก ๆ ในการผลิตเจลาตินนั้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญได้แก่ การเตรียมตัวอย่างวัตถุดิบเบื้องต้น (pre-treatment process) การสกัดเจลาติน (extraction) และ การทำบริสุทธิ์การทำแห้งเจลาติน (purification and drying) (รูปที่ 2) และเนื่องด้วยวิธีการในการทรีตตัวอย่างเริ่มต้นทำให้ได้เจลาตินออกมา 2 ประเภทตามวิธีการทรีตตัวอย่าง คือ เจลาติน type A ซึ่งจะมีค่า pI ที่ 6-9 ได้จากการผลิตเจลาตินด้วยกระบวนการสกัดด้วยสภาวะที่เป็นกรด และ เจลาติน type B ซึ่งจะมีค่า pI ที่ ประมาณ 5 โดยได้มาจากการสกัดด้วยสภาวะที่เป็นด่าง (Stainsby, 1987) การทำ pre-treatment ด้วยสารละลายกรดเป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมสำหรับการใช้ในการสกัดเจลาตินจากหนังหมูหรือหนังปลา ในขณะที่ การทรีตด้วยสภาวะที่เป็นด่างมักนิยมใช้กับหนังสัตว์ใหญ่ซึ่งมีโครงสร้างที่ค่อนซับซ้อนและมีความแข็งแรง เช่น หนังวัว หนังควาย เป็นต้น มีการศึกษวิธีการสกัดเจลาตินจากหนังปลาอย่างหลากหลายโดยสรุปได้บางส่วนดังแสดงในตารางที่ 2 โดยภาพรวมของการสกัดเจลาตินจากปลาจะเป็นกระบวนการสกัดด้วยสารเคมีที่ไม่รุนแรงและใช้อุณหภูมิปานกลางในการสกัด ซึ่งวิธีที่นิยมใช้สำหรับการทรีตตัวอย่างเริ่มต้นก่อนการสกัดเจลาตินจากปลาคือการทรีตด้วยสารละลายกรดอย่างอ่อน
เลือกเจลาตินคุณภาพ เลือกฮาลาลเจลาติน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น